Thursday, July 14, 2016

การรักษาโรคด้วย "ว่านหางจระเข้ "

สรรพคุณและวิธีใช้ :
ว่านหางจระเข้ ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาแต่โบราณ มีความลี้ลับอะไรอยู่หรือ แม้ว่าผู้คนจะนิยมใช้ว่านหางจระเข้กันมาแต่โบราณ แต่สรรพคุณของว่านหางจระเข้ก็ยังมีม่านแห่งความลี้ลับปกคลุมอยู่มาตลอดช่วงระยะเวลาอันยาวนาน

1. ฟกช้ำ ขัดยอก
ว่านหางจระเข้ใช้ได้ผลดีมากกับอาการฟกช้ำขัดยอก การปฐมพยาบาลคนเจ็บที่หกล้มฟกช้ำ ควรประคบด้วยน้ำเย็น ส่วนคนเจ็บที่เกิดการเคล็ด ควรต้องเข้าเฝือกและตรึงด้วยไม้ ให้บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บอยู่นิ่งๆ จากนั้นให้ปิดด้วยเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้ เนื่องจากว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ให้แก้ร้อน แก้อักเสบและบรรเทาปวด จึงรักษาให้หายได้เร็วมาก

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้
วิธีการรักษาด้วยว่านหางจระเข้ก็เพียงฝานว่านหางจระเข้เป็นชิ้นบางๆ ปิดไว้ตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ แล้วใช้ผ้าพันแผลปิดให้เรียบร้อย
ถ้าฟกช้ำเป็นบริเวณกว้างหรือขัดยอก ให้พอกด้วยว่านหางจระเข้ โดยบดว่านให้ละเอียดก่อนแล้วป้ายลงบนผ้าก๊อซ แล้วนำไปปิดบริเวณที่บาดเจ็บ จากนั้นจึงใช้ผ้าพันแผลพันให้เรียบร้อย นอกจากนี้ จะใช้แป้งหมี่ผสมกับน้ำว่าน นำมาทาตรงบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บก็ได้ ถ้าแป้งที่พอกไว้แห้งแล้วแกะออกยากให้ใช้ผ้าเปียกปิดไว้ให้แป้งอ่อนตัวก่อน แล้วค่อยแกะออก

2. หืดหอบ
โรคหืดหอบเกิดจากการแพ้สารบางอย่าง ซึ่งสารนี้จะไปกระตุ้นประสาทซิมพาเธติค ทำให้กล้ามเนื้อที่หลอดลมเกิดการหดเกร็งอย่างรุนแรง แต่โดยทั่วไปแล้ว โรคหืดหอบเกิดจากร่างกายที่มีความผิดปกติ จึงควรใช้ว่านหางจระเข้ปรับสภาพร่างกายให้ดีขึ้น เสริมเยื่อบุในหลอดลมให้แข็งแรงขึ้น เพื่อป้องกันการกำเริบของโรค

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้
เวลาเป็นหืดหอบ จะรู้สึกไม่สบายที่หลอดคอ ดังนั้นให้ดื่มน้ำว่านจะดีที่สุด โดยผสมน้ำร้อนให้เจือจางก่อน แล้วค่อยดื่ม
ถ้าเด็กเป็นหืดหอบ น่าจะใส่น้ำผึ้งผสมด้วยสักเล็กน้อย ซึ่งจะช่วยลดรสขม ทำให้ดื่มง่ายขึ้น เด็กควรกินประมาณ 1 ใน 3 ส่วน ของที่ผู้ใหญ่กิน ในบางคนอาการอาจหายไปในเวลาราว 1 เดือน แต่ควรจะกินว่านหางจระเข้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยกินวันละ 1-2 ครั้ง จะดีกว่า

3. ไข้หวัด
โรคหวัดเป็นโรคของอวัยวะทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัส แม้จะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงอะไร แต่มันสามารถพัฒนาและก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้มากมาย ดังนั้น จึงควรรักษาเสียแต่เนิ่นๆ

ว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ที่จะทำให้เชื้อไวรัสไข้หวัดไม่แพร่ขยายตัวอีก จึงช่วยป้องกันไข้หวัดได้ และถึงจะเป็นหวัดอยู่แล้ว เมื่อกินว่านหางจระเข้ก็จะหายได้โดยเร็ว และว่านหางจระเข้ยังช่วยรักษาอาการของไข้หวัด เช่น ไอ เจ็บคอ มีเสมหะได้ดีอีกด้วย

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้
ใช้ใบว่านหางจระเข้ยาวประมาณ 4 ซ.ม. บดหรือขูดให้เป็นน้ำวุ้น เติมน้ำสุกอุ่น 1 แก้ว แล้วรับประทานหรือจะใส่น้ำผึ้งหรือน้ำมะนาว เพื่อเพิ่มรสชาติให้น่ารับประทานยิ่งขึ้นก็ได้ ซึ่งจะมีผลช่วยแก้อาการอักเสบที่หลอดคอและช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น

4 .เมารถเมาเรือ
เวลาโดยสารรถหรือเรือแล้วรู้สึกไม่สบาย มีอาการเมารถเมาเรือ โดยเฉพาะคนที่มีประสาทอัตโนมัติไว จะเกิดอาการเมารถเมาเรือได้ง่ายที่สุด อาการเมาที่ว่านี้จะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ เหงื่อแตก อาเจียน ฯลฯ คนที่ปกติไม่เมารถเมาเรือ ก็อาจเกิดอาการเมาได้ ถ้ากระเพาะอาหารทำงานผิดปกติหรือนอนหลับไม่เพียงพอ

สารในว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ช่วยระงับประสาท จึงใช้ได้ผลดี กับอาการเมารถเมาเรือ วิธีกินที่ได้ผลเร็วที่สุด คือ กินใบว่านสดๆ โดยอาจเคี้ยวกินโดยตรงหรือทำเป็นน้ำว่านดื่มก็ได้

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้
การป้องกันอาการเมารถเมาเรือ ให้กินใบว่านหางจระเข้ ขนาดสัก 2-3 ซ.ม. ไว้ก่อนที่จะโดยสารรถหรือเรือ หรือจะดื่มน้ำว่านก็ได้ และแม้แต่เมื่อมีอาการเมารถเมาเรือแล้ว หากได้กินใบว่านหางจระเข้สักเล็กน้อย จะทำให้รู้สึกสบายขึ้น

5. แผลจากของมีคมบาดและแผลถลอก
โอกาสที่เราจะเกิดแผลจากของมีคมบาดหรือแผลถลอกในชีวิตประจำวันนั้นมีมากเหลือเกิน โดยเฉพาะในบ้านที่มีเด็ก จะยิ่งเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ได้บ่อยมาก ถ้าคุณคิดว่าแผลจากของมีคมบาดหรือแผลถลอกเป็นแผลเล็กๆ แล้วไม่เอาใจใส่ นั่นจะเป็นอันตรายมาก เพราะแผลเหล่านี้อาจกลัดหนอง หรืออาจเป็นแผลเรื้อรังจนเป็นบาดทะยักได้

ดังนั้น เพื่อมิให้แผลกลายเป็นแผลเรื้อรัง จึงควรพยายามรักษาโดยเร็วที่สุดเสียแต่เริ่มแรก ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อ ป้องกันการติดเชื้อ แทรกซ้อน อีกทั้งสามารถกระตุ้นการเติบโตของเนื้อเยื่อส่วนที่ได้รับบาดเจ็บอีกด้วย ดังนั้น ว่านหางจระเข้จึงเป็นยาที่ดีในการรักษาแผลจากของมีคมบาดหรือแผลถลอก

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้
ล้างสิ่งสกปรกในแผลออกด้วยน้ำก่อน ถ้าเป็นแผลเล็กน้อย ให้นำว่านหางจระเข้ไปฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อนหรือล้างด้วยน้ำด่างทับทิมแล้วนำไปทาที่แผล ถ้าเป็นแผลค่อนข้างใหญ่ ก็ให้เอาเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้พอกไว้ที่แผล แล้วพันด้วยผ้าพันแผลให้เรียบร้อย พอเนื้อวุ้นแห้งแล้ว ให้เปลี่ยนใหม่ 2-3 วัน (สำหรับกรณีแรก) หรือประมาณ 1 เดือน (สำหรับกรณีหลัง) แผลก็จะหายดี

6.ช่องปากอักเสบ
ช่องปากอักเสบ หมายถึง เยื่อบุช่องปากอักเสบ ซึ่งแบ่งเป็นช่องปากอักเสบที่เยื่อบุ กับ แผลในช่องปากเยื่อบุช่องปากอักเสบ หมายถึง เยื่อบุในช่องปากมีอาการบวมแดงและร้อน เมื่อกินอาหารที่มีฤทธิ์ระคายเคือง จะรู้สึกเจ็บ แผลในช่องปาก หมายถึง เยื่อบุช่องปากเกิดเป็นแผลเน่าเปื่อยเป็นดวงกลมการใช้ว่านหางจระเข้ปิดป้องกันที่ผิวแผลมิให้ติดเชื้อจะได้ผลดีมาก

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้
ตัดว่านหางจระเข้ขนาด 3-4 ซ.ม. เอาหนามออกแล้วลวกด้วยน้ำร้อน จากนั้นนำมาบดให้ละเอียด ใส่น้ำลงเจือจาง 4-5 เท่า แล้วใช้บ้วนปาก โดยอย่ารีบบ้วนน้ำว่านทิ้งทันที ให้อมเอาไว้ในปากสัก 2-3 วินาที จะให้ผลดียิ่งขึ้น

7. ฮ่องกงฟุต
เมื่อผิวหนังที่มือและเท้าติดเชื้อรา ก็จะกลายเป็นโรคเท้าเปื่อยหรือฮ่องกงฟุต ซึ่งมีอาการที่สำคัญ คือ จะคันมาก โรคฮ่องกงฟุต มี 2 ชนิด ชนิดแรก ผิวหนังจะเป็นผิวแห้งและหยาบกร้าน ชนิดที่สอง จะมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มอยู่ตลอดเวลา ซึ่งโรคนี้ถ้าเป็นมากๆ ก็จะเกิดติดเชื้อแทรกซ้อนขึ้น จนกระทั่งทำให้เดินไม่ได้

ว่านหางจระเข้ใช้ได้ผลดีมากกับโรคฮ่องกงฟุต เพราะสารจากว่านหางจระเข้มีสรรพคุณฆ่าและยับยั้งการเจริญของเชื้อโรค จึงสามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ำอีกได้ หลังจากใช้ว่านหางจระเข้ ผู้ป่วยจะไม่เกิดอาการคันอีก ต่อมาผิวหนังชั้นนอกก็จะลอกออก แล้วโรคฮ่องกงฟุตก็จะค่อยๆ หายไป

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้
ก่อนอื่นต้องล้างบริเวณที่เป็นโรคฮ่องกงฟุตให้สะอาดก่อน และเช็ดให้แห้ง จากนั้นเอาเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้ ซึ่งผ่านการฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อนหรือน้ำด่างทับทิมแล้วมาพอกปิดไว้ และถ้าต้องการให้ได้ผลมากขึ้น ควรใช้เนื้อวุ้นว่านปิดหลังอาบน้ำ เพราะสารในเนื้อว่านจะซึมซาบเข้าไปในผิวหนังได้ง่ายขึ้น ถ้าอาการไม่มากนัก ก็จะหายคันได้ง่าย ทำให้ผิวหนังเนียนเรียบได้อย่างรวดเร็ว

8.โรคตับ
ตับเป็นอวัยวะที่ร่างกายใช้งานบ่อยที่สุด เพราะมีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญอาหารและเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สลายสารพิษแล้วขับออกจากร่างกายในรูปของเสีย ตับจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพของคนเราเป็นอย่างมาก คนที่ชอบดื่มสุรา จึงยิ่งต้องระวังจะเป็นโรคตับแข็ง

เนื่องจากว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ช่วยแก้พิษ จึงช่วยการทำงานของตับได้ นอกจากนี้ ว่านหางจระเข้ยังมีสรรพคุณเสริมภูมิต้านทานของร่างกาย ซึ่งถ้าสามารถใช้ว่านหางจระเข้ควบคู่ไปกับการรักษาโรคตับได้ จะช่วยให้ตับฟื้นตัวเร็วขึ้น การกินว่านหางจระเข้ต่อเนื่องกันเสมอ ก็จะช่วยป้องกันโรคตับได้ด้วย

เคล็ดลับการรักษาด้วยว่านหางจระเข้
การใช้ว่านหางจระเข้รักษาโรคตับนี้ ให้เลือกวิธีกินได้ตามที่ตัวเองชอบ เช่น กินใบสดโดยตรง ทำเป็นน้ำว่าน น้ำผลไม้ผสมว่าน แต่ผู้ป่วยโรคตับไม่เหมาะจะดื่มสุราว่าน เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักมากขึ้น ที่สำคัญคือ ต้องกินว่านหางจระเข้ต่อเนื่องกัน ถึงจะได้ผล จึงควรเลือกวิธีกินที่ง่าย และเมื่อให้แพทย์รักษาไประยะหนึ่งแล้ว ถ้ากินว่านหางจระเข้ต่อไป จะช่วยป้องกันมิให้โรคกำเริบซ้ำอีก

Cr.พระอธิการนพดล กันตสีโล

Related Posts

loading...
การรักษาโรคด้วย "ว่านหางจระเข้ "
4/ 5
Oleh

Subscribe via email

Like the post above? Please subscribe to the latest posts directly via email.

Note: Only a member of this blog may post a comment.